สัญลักษณ์ เป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง การที่ประเทศใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพ
และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
พื้นที่วงกลมสีแดงขอบสีขาวและน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคําว่า "asean"
สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพ อันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทํางานร่วมกันเพื่อ
ความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพและความก้าวหน้าของประเทศสมาชิก
อาเซียน สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสําคัญที่
ปรากฎในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
|
|
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือ
รวงข้าว แสดงถึงความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งอาเซียน ให้มีอาเซีย
ที่ประกอบด้วยบรรดาประเทศทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
วงกลม แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
|
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งอาจจำแนกออก
ได้คร่าวๆ เป็นประเทศหมู่เกาะกับประเทศบนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศมีความหลากหลาย
ด้านสังคมวัฒนธรรมภายในแต่ละประเทศเองซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่อย่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียสหภาพพม่าการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียนในเชิงระดับพัฒนาการทาง
เศรษฐกิจจากมุมมองด้านรายได้จากข้อมูลของ World Bank (2003) สะท้อนให้เห็นว่าระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในอาเซียนนั้นอาจแบ่งออกได้
เป็น 3 ระดับคือ
1) ประเทศที่มีรายได้ต่ำได้แก่ประเทศกัมพูชาลาวพม่าและเวียดนาม
2) ประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้แก่ฟิลิปปินส์มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยและ
3) ประเทศที่มีรายได้สูงได้แก่สิงคโปร์ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติ
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations–ASEAN) โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมพ.ศ. 2510 การเปิดพื้นที่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นการสร้างกระแสตื่นตัวให้แก่หลายประเทศในการเปิดเสรีด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการศึกษา
ซึ่งเป็นความท้าทายต่อการเร่งรัดพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับการแปรเปลี่ยนของกระแสสังคมโลก เพราะฉะนั้นการที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะต้องเริ่มจาก
ฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้างขึ้นมาเอง และ
ในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่า
ของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา เห็นภัยของการครอบงำของวัฒนธรรมแปลกปลอมจากภายนอกเพื่อการก้าวทันและผลักดันชุมชนท้องถิ่นอย่างมีทิศทางจากการที่กระแสวัฒนธรรมที่มีรากฐาน
อยู่ที่ทุนนิยมตะวันตกได้แพร่ขยายไปทั่วโลก ส่งผลกระทบในการเข้าไปมีอิทธิพลครอบงำหรือเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ และกระแสการเปลี่ยนแปลง
ของโลกาภิวัฒน์ก็ถาโถมเข้ามาทำลายประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ค่านิยมและความเชื่อที่ยึดถือกันมานาน ความเปลี่ยนแปลงนี้จะเปิดประตูให้
อนาคตบุกรุกเข้ามาในชีวิต จึงเป็นเรื่องยากที่จะจับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมว่าจะไปทางไหน เพราะอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลง
มีพลังมากพอที่จะเคลื่อนไหวว่าทิศทางของวัฒนธรรมจะไปทางใด นอกจากนี้การเผชิญหน้ากับโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มากกว่าความถูกต้องของหลักวิชาหรือทฤษฎีต่าง ๆ และวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่งแต่ก่อนที่มันจะพัฒนาการไปสู่ความเจริญ
และความเสื่อม สังคมเปิดกว้างมักจะอยู่รอดด้วยการเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง เกิดความคิด ความเชื่อ ความซับซ้อน ความขัดแย้ง ทั้งหมดจะ
เชื่อมโยงเข้ากับวิถีชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีก็ได้แสดงศักยภาพในการสื่อสารที่บ่งบอกถึงความทันสมัย ความสะดวกรวดเร็ว
จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าภาพของพื้นที่ตามแนวชายแดนอาจจะต้องสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมไปและเริ่มสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อการขยายโอกาส
ในการสร้างสรรค์สู่การรองรับประชาคมอาเซียนให้แก่ชุมชนท้องถิ่นได้เกิดการรับและเรียนรู้ |